กิจกรรมย่อยที่ 1 โครงการรักษ์ผัง รักชุมชนชะแล้ เมื่อวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560 หลักสูตรสาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการผังเมือง ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลผังทรัพยากรของชุมชนชะแล้ เพื่อการวางแผนพัฒนาแหล่งทรัพยากรและการท่องเที่ยว เพื่อมุ่งประโยชน์ด้านการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ณ ชุมชนชะแล้ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา โดยมี อาจารย์สุรวัช หมู่เก็ม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
กิจกรรมย่อยที่ 2 โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว "สร้าง สื่อ เด็ก รักษ์ชะแล้"เมื่อวันที่ 21 -22 กรกฎาคม 2560 หลักสูตรสาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการ “รักษ์ชะแล้” กิจกรรมเพื่อวัฒนธรรม กิจกรรมย่อยที่ 2 โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว "สร้าง สื่อ เด็ก รักษ์ชะแล้" โดยมี อาจารย์งามเพชร อัมพรวัฒนพงศ์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ลงพื้นที่จัดอบรม ยุวมัคุเทศก์น้อยให้กับนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เพื่อให้เยาวชนเกิดความรักความภาคภูมิใจ เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาชุมชนไปสู่แหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยว ด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมต่อไป โดยมีวิทยากร อาจารย์อัมรินทร์ สันตินิยมภักดี และอาจารย์อารีย์ เต๊ะแหละ อาจารยืจากวิทยาเขตรัตภูมิ จากสาขาวิชาศึกษาทั่วไป มทร.ศรีวิชัย รวมถึงลงพื้นที่ เก็บข้อมูล เพื่อจัดทำป้ายเรียนรู้ป่าชายเลนให้กับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนชะแล้ ตามแนวคิดการพัฒนาสู่แหล่งท่องเที่ยวต่อไป
กิจกรรมย่อยที่ 3 โครงการเพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึก
เมื่อวันที่ 22 - 23 กรกฎาคม 2560 หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มจักรสาน ของชุมชนชะแล้ ในเรื่องการพัฒนารูปแบบ สีสัน และการตกแต่งเพิ่มมูลค่า เพื่อการพัฒนาสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน OTOP ต่อไป โดยมี อาจารย์อภิฤดี อนันตพันธ์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และเป็นวิทยากร ร่วมกับอาจารย์อารีนา อิสสาเมาะ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ ให้แก่กลุ่มจักรสาน ณ ชุมชนชะแล้ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา
กิจกรรมย่อยที่ 4 โครงการจิตรกรรมเพื่อชุมชน เมื่อวันที่ 19 - 20 กรกฎาคม 2560 หลักสูตรสาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักศึกษาและอาจารย์ หลักสูตรสาขาวิชาทัศนศิลป์ ได้ลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ทางด้านศิลปะ ให้กับครูและนักเรียน โรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา โดยมีแนวคิดในการประยุกต์วัฒนธรรมพื้นถิ่นสู่งานศิลปะเพื่อเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนเกิดความรักและความหวงแหนชุมชนบ้านเกิดของตนเอง โดยมี อาจารย์สาโรจน์ มีพวงมาก เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ